หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ความเชื่อของชาวมอญ

ความเชื่อของชาวมอญ


1.ผีประจำหมู่บ้าน
  เชื่อกันว่าเป็นผีที่ปกปักรักษาและคุ้มครองคนในหมู่บ้านทั้งหมด โดยมากจะสร้างศาลให้เป็นที่ประดิษฐานไว้ในหมู่บ้านบริเวณชายทุ่ง ซึ่งผู้คนสามารถมาเซ่นไหว้ได้อย่างสะดวก และจะต้องทำพิธีเซ่นไหว้อย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คนในหมู่บ้าน โดยมี"คนทรง" เป็นผู้ประกอบพิธีพร้อมทั้งเข้าทรงทำนายทายทัก ถึงสภาพความเป็นไปในปัจจุบัน ตลอดจนความอุดมสมบูรณ์ของอนาคต หรือแก้ไขปัญหาเดือดร้อนต่าง ๆ เป็นต้น

อาชีพที่ใช้เลี้ยงชีพของชาวมอญ

อาชีพที่ใช้เลี้ยงชีพของชาวมอญ


   อาชีพของชาวมอญปากเกร็ดที่ขึ้นชื่ออย่างหนึ่ง คือการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นที่รู้จักทั่วไป และรูปแบบหม้อน้ำลายวิจิตรของชาวมอญ ยังได้ปรากฏบนตราประจำจังหวัดนนทบุรีอีกด้วย

ประเพณีของชาวมอญ

ประเพณีของชาวมอญ


  นบธรรมเนียมประเพณีของชาวมอญนั้น มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับมายาวนาน บางอย่างมีอิทธิพลให้กับชนชาติใกล้เคียง เช่น ประเพณีสงกรานต์ ข้าวแช่ ฯลฯ บางอย่างก็ถือปฏิบัติกันแต่เฉพาะในหมู่ชนมอญเท่านั้น ชาวมอญเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง

การแต่งการของชาวมอญ


การแต่งกายมอญ


  วัฒนธรรมมอญ และไทยใกล้เคียงกัน เมื่อมอญเสียเอกราชแก่พม่า พม่ารับเอาศิลปวัฒนธรรมทุกประการของมอญไปใช้ จนทุกวันนี้ เมื่อพบเห็นศิลปวัฒนธรรมมอญ คนทั่วไปจึงเข้าใจว่าเป็นพม่า
จารึกภาพคนต่างภาษา ที่วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม กล่าวถึงการแต่งกายของชาวมอญ ว่า

อาหารพื้นบ้านที่ใช้รับประทาน

อาหารประจำสำหรับสำรับของชาวมอญ
      ข้าวแช่ชาวมอญ
         
    อาหารประจำสำหรับสำรับของชาวมอญ ที่ต้องมีทุกมื้อขาดไม่ได้ คือ น้ำพริก ได้แก่ น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกตาแดง น้ำพริกกะปิ นำพริกกุ้งแห้ง และน้ำปลายำ โดยเฉพาะน้ำปลายำ จัดเป็นอาหารพื้นถิ่นกินเฉพาะชาวมอญอีกอย่างหนึ่งน้ำพริกชนิดต่างๆ จะกินกับผักสด ผักดองหรือผักต้ม ตามแต่ประเภทของน้ำพริก และมีปลาเค็มกินเป็นเครื่องเคียงด้วยเช่นกัน

ภาษาที่ใช้สื่อสารกัน

ภาษาของคนมอญ



  ภาษา ภาษาที่ใช้สื่อสารกันในระหว่างชาวมอญด้วยกันทั้งภายในบ้านนอกบ้าน จนถึงวัด ซึ่งประกอบพิธีทางศาสนา จะใช้ภาษามอญทั้งในการพูด บทสวดมนต์และการเทศน์ เว้นแต่เมื่อมีการติดต่อกับคนไทยภายนอกเท่านั้นจึงจะใช้ภาษาไทย

ศาสนาของชาวมอญ


ชาวมอญกับศาสนา

วัดปรมัยยิกาวาส

ชาวมอญเริ่มหันมานับถือศาสนาพุทธเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวมอญเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์มากกว่าชาวไทย โดยพระจะทำหน้าที่เป็นนักโหราศาสตร์และชี้แจงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติต่างๆ ความเชื่อในเรื่องวิญญาณถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและให้ความเคารพผีบ้านผีเรือนด้วย